ทำความเข้าใจ ‘โรคพาร์กินสัน’ วิธีการและแนวทางการรักษาและฟื้นฟูผู้ป่วยให้กลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

Share Post:
ทำความเข้าใจ ‘โรคพาร์กินสัน’ วิธีการและแนวทางการรักษาและฟื้นฟูผู้ป่วยให้กลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
โรคพาร์กินสันคืออะไร
- ปัจจัยทางพันธุกรรม : มีประวัติคนในครอบครัวป่วยด้วยโรคพาร์กินสัน
- ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม : การได้รับสารพิษหรือสารเคมีจำพวกโลหะหนัก เช่น แมงกานีส ทองแดง โดยการสัมผัส การรับประทาน การสูดดม, การอาศัยอยู่ในเขตอุตสาหกรรม, การได้รับบาดเจ็บทางสมอง
อาการของโรคพาร์กินสัน
- อาการสั่น
- เคลื่อนไหวช้า เดินช้า ทำงานช้า ลายมือเปลี่ยน พูดช้า
- กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง ข้อยึดติด
- เสียสมดุลการทรงตัว ก้าวเดินลำบาก ก้าวสั้น ๆ ถี่ ๆ
- แสดงความรู้สึกทางสีหน้าไม่ได้ ลักษณะคล้ายสีหน้าไร้อารมณ์
- ท้องผูก
- การรับกลิ่นลดลง
- การนอนผิดปกติ นอนละเมอออกท่าทาง
ใครบ้างที่เสี่ยงเป็นโรคพาร์กินสัน
- ผู้สูงอายุ โดยเฉพาะอายุมากกว่า 55 ปี
- มีคนในครอบครัวป่วยเป็น พาร์กินสัน โดยเฉพาะญาติสายตรง
การวินิจฉัยโรคพาร์กินสัน
- การซักประวัติ การตรวจร่างกาย
- การเอกซเรย์สมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Brain MRI)
การรักษาโรคพาร์กินสัน
- การรักษาด้วยการรับประทานยา
- การรักษาด้วยการผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นสมองส่วนลึก ซึ่งจะใช้วิธีนี้ในผู้ป่วยรายที่อาการของโรค ดำเนินไปสู่ระยะท้ายแล้ว
- การทำกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างความแข็งแรง และความยืดหยุ่นให้กับกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
การดูแลผู้ป่วยพาร์กินสัน
- ช่วยผู้ป่วยในการบริหารร่างกาย เพื่อป้องกันการเกิดข้อยึดติด ฝึกการทรงตัว เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
- คอยระวังเรื่องอุบัติเหตุ การล้ม ปัญหาการกลืน การพูด
- ให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่มีกากใยสูง เช่น ผัก ผลไม้ เนื่องจากผู้ป่วยพาร์กินสันจะสามารถทำ กิจกรรมต่าง ๆ ได้ช้า จึงทำให้มักมีอาการท้องผูก
- นอกเหนือจากการดูแลทางด้านร่างกายแล้ว ผู้ดูแลต้องทำความเข้าใจผู้ป่วยและคอยดูแลสภาพจิตใจของผู้ป่วยด้วย เนื่องจากผู้ป่วยบางรายอาจมีปัญหานอนไม่หลับ ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมี ปัญหาด้านจิตใจ มีความวิตกกังวล และอาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้า จนแยกตัวออกห่างจากสังคม
เห็นกันไหมคะว่าโรคพาร์กินสันนั้นเป็นโรคร้ายทางสมองที่ไม่ใช่แค่อาการสั่นเกร็ง เพราะผู้ป่วย พาร์กินสันนั้นนอกจากจะต้องได้รับการดูแลทางด้านร่างกายแล้ว ยังต้องได้รับการดูแลทางด้านจิตใจอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตามยิ่งตรวจเจอเร็ว รักษาเร็ว ผู้ป่วยพาร์กินสันก็จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าแน่นอนค่ะ
สำหรับใครที่อยากเข้าใจผู้ป่วยพาร์กินสันมากขึ้น หรือมีคนในครอบครัวเริ่มมีอาการของโรคพาร์กินสัน หรืออยากรู้ถึงการดูแลผู้ป่วยพาร์กินสันที่ถูกวิธี สามารถเข้ามาร่วมฟังงานสัมมนาออนไลน์ในหัวข้อ “เทคนิคการดูแลผู้ป่วยพาร์กินสัน ฉบับครอบครัว” ซึ่งบรรยายโดย PNKG Recovery Center โดยจะจัด ขึ้นผ่านทางช่องทางออนไลน์ ในวันเสาร์ที่ 22 มกราคม 2565 นี้เวลา 10:00 – 11:00 น. ที่ https://booking.princhealth.com/parkinson-con
บทความนี้ได้รับการตรวจสอบโดย:
นายแพทย์วุทธิกรณ์ พันธุ์ประสิทธิ์ (อายุรแพทย์ระบบประสาท โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ)