Header

mark

‘ความดันโลหิตสูง’ ต้นตอโรคร้าย ตรวจวินิจฉัยพบ ต้องรีบรักษาที่ต้นเหตุ

29 มีนาคม 2567

avatar เขียนโดย : นพ.เกียรติชัย เจริญสวรรค์, รพ.พิษณุเวช

blog

แน่นอนว่า ‘โรคความดันโลหิตสูง’ เป็นโรคที่คุ้นหูคนทุกวัย โดยตัวโรคความดันโลหิตสูงนี้ เป็นต้นตอของโรคร้ายมากมาย ที่อาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้ เพื่อสร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพ และป้องกันการเป็นโรคความดันโลหิตสูง วันนี้ เครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ จึงอยากจะมาแบ่งปันเนื้อหาสาระดี ๆ เกี่ยวกับโรคดังกล่าว ให้ทุกคนได้ทราบกัน

ความดันเท่าไร ที่เรียกว่าความดันสูง ?

ความดันเท่าไหร่ที่แปลว่าไม่ดี

ความดันโลหิตสูง มีอาการอย่างไร ?

  • เจ็บหน้าอกรุนแรง มีอาการใจสั่น
  • รู้สึกเหนื่อยง่ายผิดปกติ
  • มีอาการปวดศีรษะเฉียบพลัน
  • แขนขาซีกหนึ่งอ่อนแรง และหายเองในเวลาอันสั้น
  • ตาข้างใดข้างหนึ่งมองไม่เห็น และอาจกลับเป็นปกติในเวลาอันสั้น
  • อาการผิดปกติอื่น ๆ เช่น มีอาเจียนร่วมกับอาการอื่น ๆ ที่กล่าวมา

ความดันโลหิตสูง มีอาการเจ็บหน้าอกรุนแรง มีอาการใจสั่น

 

ความดันโลหิตสูง อาจนำไปสู่โรคร้ายอะไรบ้าง ?

โรคความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่การเกิดโรคและภาวะต่าง ๆ มากมาย ตัวอย่างเช่น:

  • ไตวายเรื้อรัง เนื่องจากเลือดไปเลี้ยงไตไม่พอ 
  • หลอดเลือดหัวใจหนา ส่งผลให้หัวใจขาดเลือด นำไปสู่หัวใจวาย
  • หลอดเลือดตีบ หรือโป่งพอง เลือดไปเลี้ยงอวัยวะทั่วร่างกายได้น้อยลง
  • จอประสาทตาเสื่อม
  • อัมพฤกษ์ อัมพาต

ความดันโลหิตสูง ป้องกัน-ควบคุมได้ยังไง

 

ความดันโลหิตสูง ป้องกัน-ควบคุมได้อย่างไร ?

  • ควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสมตามดัชนีมวลกาย
  • ควบคุมอาหาร เช่น ลดการบริโภคไขมันอิ่มตัวจากสัตว์ รับประทานผักและผลไม้เพิ่มในทุกมื้ออาหาร เลี่ยงอาหารรสเค็ม ดื่มนมไขมันต่ำเป็นประจำ และรับประทานถั่วเมล็ดแห้งเพื่อเพิ่มแมกนีเซียม เป็นต้น
  • การออกกำลังกายอย่างถูกต้อง และเหมาะสม ภายใต้การดูแลของแพทย์ โดยเน้นกีฬา หรือกิจกรรมที่ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ เช่น แขน ขา หรือลำตัว เพื่อเพิ่มหรือคงไว้ซึ่งสมรรถภาพของร่างกาย เช่น การเดิน การวิ่ง ว่ายน้ำ หรือเต้นแอโรบิก อย่างสม่ำเสมอ 5 - 7 วัน/สัปดาห์ และควรใช้เวลาออกกำลังกาย 30 - 60 นาที/ครั้ง

 

บทความโดย : นพ.เกียรติชัย เจริญสวรรค์, รพ.พิษณุเวช,ต.ค.66

ข้อมูล ณ ต.ค.66

 

บทความสุขภาพอื่น ๆ

บทความทางการแพทย์

โรคซึมเศร้า คือ โรคทางจิตเวชซึ่งเกิดจากความผิดปกติของสมอง

26 มีนาคม 2567

โรคซึมเศร้า (Depression) รู้และเข้าใจ โรคทางจิตเวชใกล้ตัวที่เราวินิจฉัยด้วยตัวเองได้ รู้ก่อน รับการรักษาได้ก่อน

โรคซึมเศร้า (Depression) เป็นโรคทางจิตเวชซึ่งเกิดจากความผิดปกติของสมอง ในส่วนที่มีผลกระทบต่อความคิด อารมณ์ ความรู้สึก พฤติกรรม รวมถึงสุขภาพทางกาย

บทความทางการแพทย์

โรคเบาหวาน สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้

28 มีนาคม 2567

‘โรคเบาหวาน’ แท้จริงแล้ว ‘ไม่หวาน’ แถมสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ อาการและการรักษาเบาหวาน

โรคเบาหวานเป็นโรคที่เกิดจากการที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ซึ่งอาจเกิดจากความผิดปกติของร่างกายต่อฮอร์โมนที่ชื่อว่า “อินซูลิน

บทความทางการแพทย์

ไขข้อสงสัย: โรคมะเร็ง ป้องกันได้จริงหรือ?

มะเร็งเป็นอีกหนึ่งโรคร้ายที่ขึ้นชื่อเรื่องความอันตราย และความยากในการรักษา ผลกระทบที่เกิดจากการป่วยเป็นโรคมะเร็ง นอกจากจะเกิดกับตัวผู้ป่วยเอง ยังส่งผลต่อสมาชิกในครอบครัว