จากประเด็นเรื่องการส่งต้อข้อมูลบนสังคมออนไลน์ที่ว่า “อันตรายจากละอองไอของบุหรี่ไฟฟ้า มีปริมาณสารพิษน้อยกว่าควันจากบุหรี่ เพราะไม่มีการเผาไหม้” ทางกรมควบคุมโรคได้ออกมาเปิดเผยว่า ชุดข้อมูลดังกล่าว เป็นข้อมูลที่ “ไม่ถูกต้อง”
ข้อเท็จจริงจากกรมควบคุมโรค
อ้างอิงจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกาและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่า ละอองไอของบุหรี่ไฟฟ้ามีสารเคมีที่อันตรายหลายชนิด ได้แก่ นิโคติน โพรพิลีน ไกลคอล สารแต่งกลิ่น สารก่อมะเร็ง โลหะหนัก เช่น อะลูมิเนียม ตะกั่ว ปรอท สังกะสี คาร์บอนิล (Carbonyls) อิพอกไซด์ (Epoxides) โพลิไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (Polycyclic Aromatic Hydrocarbons: PAHs) รวมถึงยาฆ่าแมลงและสารเคมีอื่น ๆ
ผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้า-คนรอบข้าง เสี่ยงโรคอะไรบ้าง ?
- โรคเหงือกอักเสบ
- โรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ
- ระบบประสาทส่วนกลาง ดวงตา และผิวหนัง
อย่าตกเป็นเหยื่อของ #บุหรี่ไฟฟ้า
แม้ว่าการสูบบุหรี่ไฟฟ้าจะกลายเป็นเทรนด์ ที่ดูเหมือนจะกลายเป็นเรื่องปกติในสังคม แต่อย่างไรก็ตาม การสูบบุหรี่ไฟฟ้ามีอันตรายต่อร่างกาย และส่วนใหญ่เมื่อได้ลองสูบแล้ว จะติดบุหรี่ไปตลอดชีวิต ดังนั้น คงเป็นการดี หากเราจะไม่ลองสูบบุหรี่ไฟฟ้า ตลอดจนลดหรือเลิกสูบบุหรี่ไฟฟ้า เพื่อสุขภาพของเรา และคนใกล้ตัว
อ้างอิง: กองงานคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ/สำนักสื่อสารความเสี่ยงฯ กรมควบคุมโรค (ข้อมูล ณ วันที่ 1 มีนาคม 2566)