
โรคกระเพาะ โรคยอดฮิตที่รบกวนการใช้ชีวิต มีอาการอย่างไร และต้องรักษายังไง
26 มีนาคม 2567

‘โรคกระเพาะ’ โรคยอดฮิตที่รบกวนการใช้ชีวิต มีอาการ เข้ารับการตรวจวินิจฉัย บรรเทาอาการได้
โรคกระเพาะอาหารอักเสบ หรือที่นิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่า ‘โรคกระเพาะอาหาร’ หรือ ‘โรคกระเพาะ’ เป็นโรคที่ถูกตรวจวินิจฉัยพบได้บ่อย มีอาการที่ค่อนข้างรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ตลอดจนอาจเป็นสัญญาณของโรคอื่นที่มีความรุนแรงมากกว่าอีกด้วย อย่างไรก็ดี โรคกระเพาะ ไม่ใช่แค่โรคที่เกิดขึ้นจากการไม่รับประทานอาหารตามเวลา หรือรับประทานอาหารน้อย โดยวันนี้ เครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ จะมาแบ่งปันเนื้อหาสาระดี ๆ เกี่ยวกับโรคกระเพาะ ให้ทุกคนได้ทราบกัน
โรคกระเพาะ มีสาเหตุมาจากอะไร ?
โรคกระเพาะ สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น:
- การติดเชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ไพโลไร
- การใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่เสตียรอยด์ หรือการใช้ยาแอสไพริน
- พฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การดื่มสุรา การสูบบุหรี่ การรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา ตลอดจน ความเครียด
โรคกระเพาะ มีอาการอย่างไร ?
ผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหาร อาจมีอาการที่แตกต่างกันออกไป เช่น:
- มีอาการปวด จุกแน่น หรือแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่
- มีอาการแน่นท้องหลังรับประทานอาหาร อิ่มเร็ว
- ในบางราย อาจมีอาการกรดไหลย้อนร่วมด้วย
หากมีสัญญาณ โรคกระเพาะ ควรทำอย่างไร ?
หากมีอาการ สามารถเข้ารับการตรวจวินิจฉัยโดยการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน เพื่อประเมินความรุนแรง ตรวจเชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ไพโลไร รวมทั้งช่วยวินิจฉัยแยกโรคอื่น ๆ ในกระเพาะอาหารที่มีอาการคล้ายคลึงกัน เช่น โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นต้น
ตรวจวินิจฉัย เข้ารับการรักษา บรรเทาอาการได้
หลังจากตรวจวินิจฉัยพบโรคกระเพาะ สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาตามแพทย์สั่ง เช่น ยาต้านการหลั่งกรด ร่วมกับยารักษาตามอาการอื่น ๆ ตลอดจนปรับพฤติกรรม และเลี่ยงปัจจัยกระตุ้น เช่น รับประทานอาหารให้ตรงเวลา งดดื่มสุรา สูบบุหรี่หรือยาที่อาจทำให้โรครุนแรงขึ้น เป็นต้น
บทความโดย : นพ.ภูวพัศ พิศุทธกุล, รพ.พิษณุเวช, ต.ค.6
บทความสุขภาพอื่น ๆ
บทความทางการแพทย์
22 มีนาคม 2567
“โรคกรดไหลย้อน” อาการและการรักษา อาการแสบร้อนกลางอกที่ควรรีบรักษาก่อนกลายเป็นเรื้อรัง
โรคกรดไหลย้อน เป็นภาวะที่น้ำย่อยจากกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหาร โดยของที่ไหลย้อนส่วนใหญ่จะเป็นกรดในกระเพาะอาหารส่วนน้อยอาจเป็นด่างจากลำไส้เล็ก
บทความทางการแพทย์
อาหารฤทธิ์เย็น ดับพิษร้อน ตามศาสตร์การแพทย์แผนไทยประยุกต์
ในช่วงเดือนมีนาคมเป็นต้นไป ประเทศไทยจะเข้าสู่ช่วงที่อุณหภูมิสูงที่สุดในรอบปี ซึ่งการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมินี้เอง มีส่วนทำให้ร่างกายของเราร้อนมากกว่าปกติ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอาการ หรือภาวะต่าง ๆ ตามมา นั่นจึงเป็นสาเหตุให้เราควรรักษาอุณหภูมิของร่างกาย เพื่อเลี่ยงอาการ หรือภาวะผิดปกติต่าง ๆ
บทความทางการแพทย์
13 มีนาคม 2567
ฮีทสโตรค (Heat Stroke) คืออะไร อาการเป็นอย่างไร ภาวะฉุกเฉินที่อันตรายถึงชีวิต
“ฮีทสโตรก หรือโรคลมแดด เป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์โดยเฉพาะในประเทศไทยที่มีหน้าร้อนทั้งปี ซึ่งเกิดจากการที่ร่างกายไม่สามารถลดอุณหภูมิกายลงได้ เป็นภาวะที่ต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีเนื่องจากอาจทำให้เสียชีวิตได้สูงมาก”