Header

mark

‘โรคเบาหวาน’ แท้จริงแล้ว ‘ไม่หวาน’ แถมสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ อาการและการรักษาเบาหวาน

28 มีนาคม 2567

avatar เขียนโดย : พญ.ดารกา รัชฎาภรณ์กุล, รพ.พิษณุเวช

blog

เราอาจจะได้ยินคนพูดว่า “กินหวานขนาดนี้ เดี๋ยวก็เป็นเบาหวานหรอก” ซึ่งถ้าจะพูดว่า โรคเบาหวาน (Diabetes) เป็นโรคที่เกิดจากการทานหวาน ก็อาจจะไม่ถูกต้องไปเสียทั้งหมด เพราะว่าแค่การทานหวานเพียงอย่างเดียว ไม่อาจส่งผลให้เกิดโรคเบาหวานได้ อีกทั้งการเป็นโรคเบาหวาน อาจจะไม่ได้เกิดจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารเพียงอย่างเดียว เพราะโรคนี้สามารถถ่ายทอดผ่านพันธุกรรมได้ด้วย

โรคเบาหวาน คืออะไร ?

โรคเบาหวานเป็นโรคที่เกิดจากการที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ซึ่งอาจเกิดจากความผิดปกติของร่างกายต่อฮอร์โมนที่ชื่อว่า “อินซูลิน” แบ่งออกได้เป็น 2 กรณี ได้แก่:

  • การหลั่งอินซูลินจากตับอ่อนลดลง
  • ภาวะดื้อต่ออินซูลิน

โดยความบกพร่องดังกล่าวนี้ มีผลให้การดูดซึมน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงานของเซลล์ร่างกายลดลง จนมีผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสะสมเป็นปริมาณมาก และเป็นผลให้อวัยวะต่าง ๆ เสื่อมลง และเกิดโรคหรือภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น ตามองไม่ชัด เท้าเป็นแผล ไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต และอาจอันตรายถึงขั้นต้องทำการตัดอวัยวะ เป็นต้น 

กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน คือใคร

 

กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน คือใครบ้าง ?

  • ผู้ที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป
  • ผู้ที่มีมีประวัติสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน
  • ผู้ที่มีภาวะอ้วน (BMI มากกว่าหรือเท่ากับ 25 หรือมีรอบเอวมากกว่ามาตรฐาน โดยผู้ชายรอบเอวมากกว่าหรือเท่ากับ 90 ซม. ผู้หญิงรอบเอวมากกว่าหรือเท่ากับ 80 ซม.)
  • ผู้ที่มีโรคความดันโลหิตสูง หรือไขมันในเลือดสูง
  • สตรีที่มีประวัติเบาหวานขณะตั้งครรภ์หรือน้ำหนักบุตรแรกคลอดมากกว่า 4 กิโลกรัม
  • ผู้ที่ขาดการออกกำลังกาย
  • ผู้ที่มีพฤติกรรมที่ทำร้ายสุขภาพ เช่น ดื่มสุรา หรือสูบบุหรี่

อาการของโรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน มีอาการอย่างไร ?

ในระยะแรก ผู้ป่วยมักไม่มีอาการแสดง ทำให้ไม่ได้เข้ามาพบแพทย์และส่งผลให้เสียโอกาสในการรักษาในตอนต้นไป จึงเป็นเหตุให้เราควรตรวจสุขภาพประจำปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีความเสี่ยงสูงเพื่อที่จะได้เตรียมพร้อมรับมือตั้งตั้งแต่เนิ่น ๆ ส่วนผู้ที่เป็นโรคเบาหวานมาได้สักระยะหนึ่งแล้วมักจะมีอาการแสดงดังต่อไปนี้:

 

  • รู้สึกกระหายน้ำบ่อย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
  • ปัสสาวะบ่อยทั้งกลางวันและกลางคืน
  • รับประทานอาหารมากขึ้นแต่กลับน้ำหนักลด
  • มีปัญหาด้านการมองเห็น ได้แก่ ตาพร่าลาย เห็นภาพไม่ชัด เห็นภาพซ้อน
  • มีแผลเรื้อรัง เป็น ๆ หาย ๆ

เบาหวานในระยะแรก ผู้ป่วยมักไม่มีอาการแสดง ทำให้ไม่ได้เข้ามาพบแพทย์และส่งผลให้เสียโอกาสในการรักษาในตอนต้นไป

โรคเบาหวาน รักษาอย่างไร ?

เบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่ยังไม่มีวิธีการรักษาให้หายขาดในปัจจุบัน แต่ด้วยความก้าวหน้าทางการแพทย์ต่าง ๆ ทำให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตใกล้เคียงคนปกติได้ ซึ่งผู้ป่วยสามารถดูแลรักษาสุขภาพตัวเองได้ด้วยการ:

 

  • รักษาแบบใช้ยา: แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ยารับประทานและยาฉีด ซึ่งแต่ละแบบมีกลไกการออกฤทธิ์ที่แตกต่างกันออกไป โดยยารักษาโรคเบาหวานในปัจจุบันมีผลข้างเคียงน้อยและสะดวกในการใช้ ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้ตัดสินใจจ่ายยาให้กับผู้ป่วยแต่ละรายตามความเหมาะสม  
  • รักษาแบบไม่ใช้ยา: คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม คุมอาหาร และออกกำลังกาย เช่น:
    • รับประทานอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาล (Glycemic Index) ต่ำ ทำให้ดูดซึมน้ำตาลช้า อิ่มนาน เช่น ผักใบเขียว ฝรั่ง แอปเปิ้ล กล้วยน้ำว้า ข้าวโอ๊ต ข้าวซ้อมมือ วุ้นเส้น เป็นต้น
    • รับประทานน้ำตาลไม่เกิน 6 ช้อนชาต่อวัน
    • ออกกำลังกายแบบแอโรบิค เช่น เดินเร็ว วิ่ง ปั่นจักรยาน หรือว่ายน้ำ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 – 5 ครั้ง หรืออย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์

 

การรักษาแบบใช้ยา และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สามารถช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิตและไขมันในเลือดให้ใกล้เคียงเกณฑ์ของคนปกติมากที่สุด รวมถึงเป็นการสร้างเสริมสุขภาพที่ดีเพื่อเลี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยยังคงจำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อติดตามอาการเป็นระยะ ๆ

 

บทความโดย : พญ.ดารกา รัชฎาภรณ์กุล, รพ.พิษณุเวช, ต.ค.66

บทความสุขภาพอื่น ๆ

ข่าวสุขภาพ

กรมอนามัย แนะ เริ่มต้นป้องกัน “โรคมะเร็ง” ด้วยตนเอง เพียงปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต และตรวจคัดกรอง

โรคมะเร็ง เป็นโรคที่มีอัตราการเสียชีวิตเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศไทย ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว สาเหตุการเกิดโรคมะเร็งมาจาก “พฤติกรรมการใช้ชีวิต” ที่ไม่เหมาะสม ดังนั้น การเลี่ยงพฤติกรรมที่อาจนำไปสู่ความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง เป็นอีกหนึ่งวิธีการป้องกันโรคมะเร็งต้วยตนเองที่ดี

บทความทางการแพทย์

อาหารฤทธิ์เย็น ดับพิษร้อน ตามศาสตร์การแพทย์แผนไทยประยุกต์

ในช่วงเดือนมีนาคมเป็นต้นไป ประเทศไทยจะเข้าสู่ช่วงที่อุณหภูมิสูงที่สุดในรอบปี ซึ่งการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมินี้เอง มีส่วนทำให้ร่างกายของเราร้อนมากกว่าปกติ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอาการ หรือภาวะต่าง ๆ ตามมา นั่นจึงเป็นสาเหตุให้เราควรรักษาอุณหภูมิของร่างกาย เพื่อเลี่ยงอาการ หรือภาวะผิดปกติต่าง ๆ

บทความทางการแพทย์

ไวรัส RSV คืออะไร อาการคล้ายไข้หวัด แต่อาจอันตรายมากกว่า

28 มีนาคม 2567

ไวรัส RSV คืออะไร อาการคล้ายไข้หวัด แต่อาจอันตรายมากกว่า

โรคติดเชื้อทางเดินหายใจจากเชื้อไวรัส RSV” ที่มักพบในเด็ก โรคชนิดนี้มีอาการเริ่มต้นคล้ายไข้หวัด แต่อาจก่อให้เกิดอาการรุนแรงได้มากกว่า โดยเฉพาะในเด็กเล็ก ถึงขั้นปอดอักเสบและเสียชีวิตได้