Header

mark

โรคคอตีบ คืออะไรโรคติอต่อเฉียบพลันของระบบทางเดินหายใจ

26 มีนาคม 2567

avatar เขียนโดย : นพ.ไอยรัตน์ ทองกำเหนิด, โรงพยาบาลวิรัชศิลป์

blog

“โรคคอตีบ” เป็นโรคติอต่อเฉียบพลันของระบบทางเดินหายใจ ส่วนใหญ่พบการติดเชื้อในเด็กและมีอัตราการเสียชีวิตสูงจากสาเหตุทางเดินหายใจอุดตันหรือจากกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจนเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว 

 

โรคคอตีบเกิดจากอะไร

คอตีบเกิดจากติดเชื้อแบคทีเรียชนิด Corynebacterium diphtheriae ผ่านทางการไอ จาม รดกัน หรือใช้สิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อร่วมกัน มักแสดงอาการหลังจากได้รับเชื้อ 2-5 วัน ทําให้เกิดการอักเสบขึ้นในช่อง ทางเดินหายใจ ตั้งแต่โพรงจมูกจนถึงทางเดินหายใจส่วนล่าง ในรายที่มีอาการรุนแรงจะมีแผ่นเยื่อลักษณะเป็นปื้นสีขาวเทาหรือเหลืองเทาเกิดขึ้นในช่องลําคอจนทําให้มีภาวะทางเดินหายใจตีบแคบและอุดตันได้  นอกจากนี้สารพิษที่เชื้อโรคคอตีบปล่อยออกมายังทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเส้นประสาทส่วนปลายอักเสบด้วย โรคคอตีบเป็นโรคที่มีอัตราตายสูงมาก ในผู้ป่วย 10 ราย จะมีผู้ป่วยเสียชีวิต 1 ราย 

โรคคอตีบ สามารถพบได้ในทุกช่วงอายุ แต่มักไม่พบในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 1 ปี เนื่องจากเด็กในช่วงอายุนี้ได้ภูมิคุ้มกันต้านทานโรคจากแม่แล้วและมีโอกาสสัมผัสโรคน้อย

โรคคอตีบเป็นโรคติอต่อเฉียบพลันของระบบทางเดินหายใจ

 

อาการของคอตีบ

ผู้ป่วยโรคคอตีบหรือผู้ติดเชื้อคอตีบที่ยังไม่มีอาการ สามารถแพร่เชื้อที่อยู่ในจมูกหรือลำคอไปสู่ผู้อื่นได้ เพราะเชื้อโรคจะอยู่ในลำคอผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษา ประมาณ 2 สัปดาห์ 

เริ่มต้นอาการด้วยมีไข้ต่ำ ๆ (มักไม่เกิน 39 องศาเซลเซียส และอาจรู้สึกหนาวสั่น) มีอาการคล้ายหวัดในระยะแรก แต่ไม่มีน้ำมูก ปวดศีรษะ ครั่นเนื้อครั่นตัว เจ็บคอมาก คลื่นไส้ อาเจียน ต่อมาจะมีแผ่นฝ้าสีขาวอมเทาติดแน่นที่บริเวณทอนซิล ช่องคอและ/หรือโพรงจมูก กล่องเสียง

วิธีการรักษา

เมื่อสงสัยว่าตนเองหรือคนรอบข้างป่วยเป็นโรคคอตีบ จะต้องรีบไปโรงพยาบาลทันที เพราะจะต้องได้รับการรักษาโดยเร็ว โดยแพทย์สั่งยาปฏิชีวนะ ให้รับประทานนาน 14 วัน บางรายอาจได้รับยาทำลายพิษของเชื้อโรคคอตีบร่วมด้วย ในผู้ป่วยที่มีอาการอุดกั้นทางเดินหายใจต้องเจาะคอ เพื่อช่วยหายใจ หลังจากเป็นปกติ ผู้ป่วยต้องได้รับวัคซีนป้องกันโรคคอตีบตามเกณฑ์ 3 ครั้ง เพราะการป่วยด้วยโรคคอตีบไม่สามารถสร้างภูมิต้านทานป้องกันโรคคอตีบในอนาคตได้

คอตีบเกิดจากติดเชื้อแบคทีเรียชนิด Corynebacterium diphtheriae

 

วิธีการป้องกัน

การฉีดวัคซีนสามารถลดความเสี่ยงของการเกิดโรคคอตีบได้ ซึ่งสามารถฉีดได้ตั้งแต่ช่วงทารก วัยเด็ก ไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ หรือหากได้สัมผัสกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อ ควรรีบเข้าพบแพทย์  สำหรับผู้ใกล้ชิดผู้ป่วยที่ไม่มีภูมิคุ้มกันโรคจะติดเชื้อได้ง่ายจึงควรได้รับการติดตามดูอาการอย่างใกล้ชิด โดยทำการเพาะเชื้อจากลำคอ และติดตามดูอาการ 7 วัน

เพื่อสุขภาพที่ดีห่างไกลจากโรคร้าย ไม่ควรใช้ของใช้ร่วมกับผู้อื่น รักษาสุขลักษณะอนามัยด้วยการล้างมือให้สะอาดทุกครั้งเวลาไอหรือจาม ก่อนรับประทานอาหารและหลังรับประทานอาหาร และหลังการเข้าห้องน้ำรวมทั้งสวมหน้ากากป้องกันโรคเมื่อเจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อระบบทางเดินลมหายใจ 

จะเห็นได้ว่าโรคคอตีบหากปล่อยไว้ไม่ได้รับการรักษาเป็นโรคที่อันตรายถึงชีวิต และสามารถแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้อย่างรวดเร็ว เพราะฉะนั้นควรหมั่นสังเกตอาการของตนเองและคนรอบข้างหากสงสัยว่าเป็นโรคคอตีบรีบมาพบแพทย์เพื่อรักษาโดยเร็วที่สุด

 

ข้อมูล : ต.ค.66

บทความโดย : นพ.ไอยรัตน์ ทองกำเหนิด, โรงพยาบาลวิรัชศิลป์, ต.ค.66

บทความสุขภาพอื่น ๆ

บทความทางการแพทย์

โรคความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่การเกิดโรคและภาวะต่าง

29 มีนาคม 2567

‘ความดันโลหิตสูง’ ต้นตอโรคร้าย ตรวจวินิจฉัยพบ ต้องรีบรักษาที่ต้นเหตุ

โรคความดันโลหิตสูงนี้ เป็นต้นตอของโรคร้ายมากมาย ที่อาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้ เพื่อสร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพ

บทความทางการแพทย์

เสียงก๊อกแก๊กเวลาลุก นั่ง มาพร้อมอาการปวดบริเวณเข่า อาจข้อเข่าเสื่อม

13 มีนาคม 2567

โรคข้อเข่าเสื่อม อาการเป็นอย่างไร สาเหตุจากอะไร อันตรายที่ไม่ควรมองข้าม

เสียงก๊อกแก๊กเวลาลุก นั่ง มาพร้อมอาการปวดบริเวณเข่า นี่อาจเป็นสัญญาณเตือน “ข้อเข่าเสื่อม” หลายคนมักเข้าใจว่าโรคนี้เป็นโรคที่เกิดกับผู้สูงวัยตามสภาวะเสื่อมถอยของร่างกายเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น แต่ทว่าแท้จริงแล้วโรคนี้สามารถเกิดได้ในคนอายุน้อยได้เช่นกัน

บทความทางการแพทย์

เจ็บ แน่นหน้าอก สัญญาณอันตราย เสี่ยง “โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ”

06 พฤศจิกายน 2566

เจ็บ แน่นหน้าอก สัญญาณอันตราย เสี่ยง “โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ”

อาการเจ็บ แน่นหน้าอก เหนื่อยง่าย ปวดร้าวที่แขนหรือไหล่ด้านหลัง อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบอยู่!!