Header

mark

PRINC Health Link การเชื่อมโยงข้อมูลประวัติการรักษา ระหว่างโรงพยาบาลและคลินิกในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์

26 กันยายน 2566

PRINC Health Link คืออะไร ?

PRINC Health Link คือ ระบบสำหรับการเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพและประวัติการรักษา ระหว่างโรงพยาบาลและคลินิกในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ เนื่องจากการเชื่อมโยงข้อมูลประวัติการรักษามีความสำคัญอย่างมากในการรักษา ซึ่งทำให้แพทย์และบุคลากรการแพทย์สามารถเข้าถึงข้อมูลที่มีความจำเป็นในการรักษา จึงให้การรักษาได้ถูกต้อง รวดเร็ว ครอบคลุม ลดความเสี่ยงในการสั่งยาซ้ำ สามารถลดค่าใช้จ่ายที่ซ้ำซ้อน และในกรณีฉุกเฉิน ข้อมูลเหล่านั้นจะช่วยรักษาชีวิตของผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงที

โดยการเก็บข้อมูลประวัติการรักษามีความปลอดภัย ด้วยการเข้ารหัสข้อมูล (Data Encryption) และจำกัดสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูล โดยจะต้องเป็นแพทย์และบุคลากรการแพทย์ผู้ทำการรักษาเท่านั้น

ทั้งนี้ผู้ป่วยต้องให้ความยินยอมการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562  หรือ PDPA ในเอกสารแล้วเท่านั้น จึงจะสามารถเชื่อมโยงข้อมูลประวัติการรักษา ระหว่างโรงพยาบาลและคลินิกในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ได้


ประโยชน์มีอะไรบ้าง ?
- แพทย์และบุคลากรการแพทย์สามารถดูประวัติการรักษา ระหว่างโรงพยาบาลและคลินิกในเครือได้อย่างรวดเร็ว
- แพทย์และบุคลากรการแพทย์สามารถดูข้อมูลสำคัญในกรณีฉุกเฉิน
- ผู้ป่วยไม่ต้องเสียเวลา หากมีการตรวจซ้ำเพิ่ม
- แพทย์และบุคลากรการแพทย์สามารถรักษาได้อย่างปลอดภัยและรวดเร็วยิ่งขึ้น

ปกป้องข้อมูลประวัติการรักษาอย่างไรบ้าง ?
- ข้อมูลจัดเก็บปลอดภัยด้วยระบบคลาวด์
- ระบบมีความเสถียร
- มีมาตรฐานความปลอดภัยข้อมูล
- มีระบบเข้ารหัสชุดข้อมูลประวัติการรักษา
- จำกัดสิทธิ์การเข้าถึง โดยแพทย์ต้องได้รับสิทธิ์จากโรงพยาบาล และยืนยันตัวตนผ่านระบบแพทยสภา
- เก็บประวัติการเข้าถึงข้อมูล
- ประวัติการเข้าถึงข้อมูลถูกจัดเก็บแบบอัตโนมัติ (Activity Logs)

ขั้นตอนอย่างไรบ้าง ?
1. ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและคลินิกในเครือ
2. บุคลากรทางการแพทย์ต้องการทราบข้อมูลประวัติการรักษาสุขภาพของผู้ป่วย
3. แพทย์และบุคลากรการแพทย์ผู้ทำการรักษาเท่านั้น ที่จะมีสิทธิ์เข้าถึงประวัติการรักษา ซึ่งต้องยืนยันตัวตนทุกครั้ง และมีการจำกัดสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูล
4. ระบบจะทำการจัดเก็บ และแสดงผล ข้อมูล ประวัติการรักษาและข้อมูลสุขภาพ เพื่อประกอบการรักษาพยาบาลเท่านั้น

 

Q&A คำถามที่พบบ่อย 

 

A: กรณีผู้ป่วยเก่า ผู้รับบริการจะต้องให้ความยินยอมการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือ PDPA ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะรวมถึง ข้อกำหนดในการแบ่งปันข้อมูลสุขภาพและประวัติการรักษาของผู้รับบริการผ่านสถานพยาบาลในเครือฯด้วย ทั้งนี้หากผู้รับบริการเคยให้ความยินยอมการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ไว้แล้วจากการมารับการรักษาก่อนหน้านี้ แพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์ที่มีส่วนร่วมในการรักษาจะสามารถใช้ข้อมูลประวัติการรักษา ของโรงพยาบาลและคลินิกในเครือแห่งอื่นได้เลย โดยที่ผู้รับบริการไม่ต้องแจ้งความยินยอมอีก กรณีผู้ป่วยใหม่ เมื่อผู้รับบริการเข้ารับบริการลงทะเบียนและเซ็นเอกสารแล้ว ณ สถานพยาบาลในเครือฯแล้ว ข้อมูลของผู้รับบริการจะถูกเชื่อมโยงประวัติการรักษาระหว่างสถานพยาบาลในเครือทันที ทั้งนี้ หากผู้รับบริการไม่ประสงค์ให้มีการเชื่อมโยงข้อมูลประวัติการรักษาระหว่างสถานพยาบาลท่านสามารถติดต่อได้ที่ แผนกเวชระเบียนของโรงพยาบาลหรือคลินิกในเครือ ที่ผู้รับบริการไม่ประสงค์เชื่อมโยงข้อมูล

A: เนื่องจากประวัติการรับการรักษาของผู้รับบริการ ซึ่งเก็บอยู่ในรูปแบบ ‘เวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์’ เอกสารทางการแพทย์ทุกประเภทที่ใช้บันทึกและเก็บรวบรวมประวัติของผู้รับบริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ อาทิ ประวัติการรักษาที่เกิดขึ้นในอดีตและปัจจุบัน การแพ้ยา และประวัติการใช้ยา ถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว (Sensitive Data) การเก็บรวบรวมข้อมูล การใช้หรือเปิดเผยข้อมูล จะทำได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลตามบทบัญญัติในพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 หรือ PDPA

A: สำหรับ PRINC Health Link ถือเป็นการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศโดยเชื่อมต่อกับระบบปฏิบัติการบริหารจัดการโรงพยาบาล (Hospital Information System หรือ HIS) ซึ่งระบบดังกล่าวไม่อนุญาตให้ บุคคลภายนอก ซึ่งไม่ใช่บุคลากรทางการแพทย์มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลดังกล่าวได้ และอยู่ภายใต้มาตรฐานความปลอดภัยข้อมูล FHIR (Fast Healthcare Interoperability Resources) หากผู้รับบริการประสงค์ตรวจสอบข้อมูลประวัติการรักษาผ่านระบบออนไลน์ สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน PRINC HEALTH ทั้งระบบ iOS และ Andriod ซึ่งเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลของโรงพยาบาลในเครือฯที่เข้ารับบริการ โดยสามารถดูประวัติการเข้ารับบริการรวมทั้งข้อมูลผลทางห้องปฏิบัติการผ่านทางแอปพลิเคชันได้ด้วยตนเอง หรือ หากผู้รับบริการประสงค์ต้องการของข้อมูลประวัติการรักษา สามารถติดต่อได้โดยตรง หรือกรอกเอกสารมอบอำนาจการขอข้อมูลประวัติการรักษาได้ที่ โรงพยาบาลและคลินิกในเครือฯ ได้เช่นกัน

A: ข้อมูลประวัติการรักษาของผู้รับบริการแต่ละท่าน จะถูกจำกัดสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลเฉพาะบุคลากรทางการแพทย์ ของโรงพยาบาลและคลินิกในเครือฯ เท่านั้น ขณะเดียวกันข้อมูลประวัติการรักษาของผู้รับบริการ มีความปลอดภัยด้วยระบบการเข้ารหัสข้อมูล (Data Encryption) ภายใต้มาตรฐานความปลอดภัยของข้อมูลระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในโรงพยาบาลและคลินิกในเครือฯ ขณะเดียวกันระบบมีความปลอดภัยสูงและมีเสถียรภาพผ่านมาตรฐานความปลอดภัยของการจัดเก็บข้อมูล ระบบปฏิบัติการ Centrix ติดตั้งใน Private Cloud ที่มีความพร้อมใช้งานสูง กระจายตัวอยู่หลาย Data Center ที่ได้รับรองมาตรฐานสากล เช่น INFORMATION SECURITY MANAGEMENT SYSTEM (ISO/IEC 27001:2022) CLOUD SECURITY MANAGEMENT SYSTEM (ISO/IEC 27017:2015) INFORMATION SECURITY MANAGEMENT SYSTEM (NIST CSF) นอกจากมาตรฐานที่ได้รับ ทางบริษัทยังมีติดตั้งระบบเฝ้าระวังภัยคุกคามทางไซเบอร์และมีทีมติดตามเฝ้าระวัง เพื่อรักษาความปลอดภัยข้อมูลตลอด 24 ชม.

A: ประวัติการรักษาจะไม่เชื่อมโยงระหว่างสถานพยาบาล ในกรณีที่ผู้รับบริการไม่ให้ความยินยอมการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่โรงพยาบาลที่เป็นผู้รักษาในครั้งที่ต้องการแชร์ข้อมูลให้กับโรงพยาบาล และคลินิกอื่นในเครือฯ และมีโอกาสที่ข้อมูลประวัติการรักษาของผู้รับบริการอาจจะไม่เชื่อมโยงระหว่างสถานพยาบาลได้ เช่น กรณีที่ผู้รับบริการไม่ได้มีการเข้ารับบริการในโรงพยาบาลและคลินิกในเครือแห่งนั้น ภายในระยะเวลา 5 ปี ซึ่งจะทำให้ข้อมูลประวัติการรักษา หรือ เอกสารเวชระเบียนของผู้รับบริการถูกทำลาย ทำให้ข้อมูลไม่สามารถเชื่อมโยงบนระบบ PRINC Health Link ได้ ทั้งนี้ผู้รับบริการสามารถขอทำการคัดลอกสำเนาข้อมูลประวัติการรักษาพยาบาล ผ่านการแจ้งความประสงค์โดยตรงไปยังโรงพยาบาลและคลินิกในเครือฯทุกแห่งได้

A: ผู้รับบริการต้องดำเนินการให้ความยินยอมให้ใช้ข้อมูลประวัติการรักษา ที่โรงพยาบาลที่เป็นผู้รักษาในครั้งที่ต้องการแชร์ข้อมูลให้กับโรงพยาบาล และคลินิกอื่นในเครือฯ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

08 พฤษภาคม 2568

รพ.วิรัชศิลป์ ให้บริการปฐมพยาบาลในงานแข่งขันจักรยานขาไถ “Balance Bike ชิงแชมป์จังหวัดชุมพร สนามที่ 1”

3-4 พฤษภาคม 2568 – โรงพยาบาลวิรัชศิลป์ ในเครือพริ้นซ์ (PRINC GROUP) จัดทีมจากแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ให้บริการปฐมพยาบาลเบื้องต้นในงานแข่งขันกีฬาจักรยานขาไถ Balance Bike ชิงแชมป์จังหวัดชุมพร สนามที่ 1 ณ โลตัส สาขาชุมพร

08 พฤษภาคม 2568

รพ.วิรัชศิลป์ ร่วมสนับสนุนกิจกรรมการแข่งขันกีฬา อบจ.คัพ เยาวชนและประชาชน จ.ชุมพร ภายใต้แคมเปญ “สานต่อแรงบันดาลใจ สู่การให้ไม่สิ้นสุด”

3 พฤษภาคม 2568 – โรงพยาบาลวิรัชศิลป์ ในเครือพริ้นซ์ (PRINC GROUP) โดยทีมเจ้าหน้าที่สื่อสารการตลาด แพทย์แผนจีน และเจ้าหน้าที่กายภาพบำบัด ได้เข้าร่วมให้การสนับสนุนและดูแลสุขภาพแก่นักกีฬาในกิจกรรมโครงการแข่งขันกีฬา อบจ.คัพ เยาวชนและประชาชน จังหวัดชุมพร ณ สนามกีฬามหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตชุมพร

08 พฤษภาคม 2568

รพ.พิษณุเวช อุตรดิตถ์ ร่วมดูแลนักกีฬาในการแข่งขันว่ายน้ำ “UTD Championship 2025”

3-4 พฤษภาคม 2568 – โรงพยาบาลพิษณุเวช อุตรดิตถ์ ในเครือพริ้นซ์ (PRINC GROUP) นำโดย พญ.ศิริลักษณ์ แก้วอุ่นเรือน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพิษณุเวช อุตรดิตถ์ พร้อมด้วยทีมเจ้าหน้าที่ เข้าร่วมเปิดงานการแข่งขันว่ายน้ำ UTD Championship 2025 ณ โรงแรมอารย จังหวัดอุตรดิตถ์

08 พฤษภาคม 2568

รพ.พิษณุเวช อุตรดิตถ์ ร่วมดูแลสุขภาพผู้ร่วมงานและนักแข่งในกิจกรรม “Uttaradit Toyo Tires Explorar Racing Car Thailand Festival ครั้งที่ 1”

1-4 พฤษภาคม 2568 – โรงพยาบาลพิษณุเวช อุตรดิตถ์ ในเครือพริ้นซ์ (PRINC GROUP) จัดทีมพยาบาลจากแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินให้บริการจุดปฐมพยาบาลภายในงาน "Uttaradit Toyo Tires Explorar Racing Car Thailand Festival ครั้งที่ 1"