
โควิด-19 ระลอกใหม่ พุ่งหลังสงกรานต์ ควรตระหนักแต่ไม่ตื่นตระหนก
19 เมษายน 2566

หลังจากเทศกาลสงกรานต์ประจำปี 2566 ที่ผ่านพ้นไปหลายๆ คนที่เดินทางกลับภูมิลำเนาไปพักผ่อนและฉลองร่วมกับครอบครัวในขณะที่มีการผ่อนคลายทางมาตรการควบคุมของสถานการณ์โควิด-19 ที่มีการอนุญาตให้จัดงานเป็นปีแรก ประชาชนออกมาร่วมสนุกสนานในกิจกรรมในเทศกาลสงกรานต์ในแต่ละพื้นที่เป็นจำนวนมาก มีการรวมตัวใกล้ชิดกับผู้คนที่ไม่รู้จัก โดยที่ไม่ใส่หน้ากากอนามัย จึงเป็นความเสี่ยงที่อาจจะเกิดการติดเชื้อได้ โดยจากการคาดการณ์ไว้ว่าช่วงสงกรานต์จะพบผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นแม้อาการไม่หนักแต่ก็ไม่ควรมองข้าม
นพ.ศราวุธ มากล้น อายุรแพทย์โรคติดเชื้อ ประจำโรงพยาบาลพิษณุเวช ในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ แนะหลังจากเดินทางกลับมาจากการร่วมเทศกาลสงกรานต์ให้เฝ้าสังเกตอาการของโควิดของตนเองและครอบครัวภายใน 7 วัน ควรใส่หน้ากากอนามัยและหลีกเลี่ยงสัมผัสหรือใกล้ชิดกับผู้สูงอายุ และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง “ถ้าหากเริ่มมีอาการไข้ เจ็บคอ มีน้ำมูก คั่นเนื้อคั่นตัว ให้ตรวจด้วย Antigen Test Kit หรือ ATK หากผลเป็นบวก ควรมาปรึกษาแพทย์ หากยังไม่มีอาการปรากฏยังไม่แนะนำให้ตรวจ ATK”
อย่างไรก็ตามสถานการณ์โควิดสายพันธุ์ใหม่ก็ยังน่าเป็นห่วงและควรตระหนักถึงการป้องกันการติดเชื้อ โดยเฉพาะสายพันธุ์โควิดลูกผสม XBB.1.16 ที่ขณะนี้มีการแพร่มากขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะที่อินเดีย ที่มีการระบาดเพิ่มมากขึ้นมากกว่าสายพันธุ์อื่นๆ ทั้งยังดื้อต่อภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติ และภูมิคุ้มกันจากการฉีดวัคซีนในช่วงปีที่ผ่านมาซึ่งยังไม่เป็น Bivarent vaccine สายพันธุ์ XBB.1.16 ยังเป็นลูกหลานจากตระกูลโอมิครอน ไม่เหมือนสายพันธุ์ในอดีต ที่เป็นตัวต้นตระกูลที่กลายพันธุ์ ทั้งอู่ฮั่น อัลฟา เบตา เดลตา ซึ่งผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกเชื่อว่า XBB.1.16 มีแนวโน้มแทนที่สายพันธุ์อื่นๆ กลายมาเป็นสายพันธุ์หลักที่จะระบาดในช่วงต่อไป แต่ยังไม่พบว่ามีความรุนแรงมากกว่าสายพันธุ์โอมิครอนอื่นๆ จึงยังไม่ควรตื่นตระหนก
อาการเบื้องต้นที่พบของสายพันธุ์นี้ พบมีอาการไข้สูง มีหวัด และไอ นอกจากนั้นมีรายงานในอินเดียซึ่งพบอาการเด่นที่แตกต่างจากสายพันธุ์อื่นคือ “มีเยื่อบุตาอักเสบ มีอาการคันตา ขี้ตาเหนียว ทำให้ลืมเปลือกตาไม่ขึ้น แต่ไม่ได้เป็นหนอง” อาจทำให้เข้าใจผิดได้ว่าเป็นอาการภูมิแพ้ แต่อาการดังกล่าวยังไม่พบในเคสที่พบในไทยทั้งหกราย
หากพบว่ามีอาการดังกล่าวควรรีบมาพบแพทย์ที่โรงพยาบาล เพราะจากลักษณะอาการดังกล่าวอาจเข้าใจผิดได้ว่าเป็นอาการภูมิแพ้
ดังนั้นสิ่งที่ยังคงสำคัญที่สุดสำหรับการป้องกันโควิด-19 คือการฉีดวัคซีน แม้จะไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 100% แต่ก็ยังมีความจำเป็นที่ช่วยเป็นเกราะป้องกันการป่วยหนักและลดการเสียชีวิตได้ สำหรับผู้ที่ฉีดเข็มสุดท้ายนานเกิน 4 เดือน โดยเฉพาะในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง อายุมากกว่า 60 ปี หรือมีโรคประจำตัว ซึ่งเป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อภาวะติดเชื้อรุนแรง แนะนำให้เข้ามารับวัคซีนโควิดเพื่อเป็นการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน โดยเฉพาะในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง อายุมากกว่า 60 ปี หรือมีโรคประจำตัว จึงควรได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ประจำปี หรือเข็มกระตุ้น และควรสวมหน้ากากอนามัยในที่สาธารณะเมื่อใกล้ชิดผู้อื่น
ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด
30 พฤษภาคม 2566
PRINC ร่วมส่งกำลังใจ "น้องพิงค์" พิชฌามลณ์ เตรียมแข่ง Thailand Open Super 500 รายการระดับเวิลด์ทัวร์รายการแรกในการแข่งขันอาชีพ
29 พ.ค. 66 บมจ.พริ้นซิเพิล แคปิตอล และโรงพยาบาลในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ทุกแห่งขอเชิญชวนแฟนกีฬาชาวไทยร่วมส่งกำลังใจ "น้องพิงค์" พิชฌามลณ์ โอภาสนิพัทธ์ นักแบดมินตันดาวรุ่งวัย 16 ปี และทีมนักตบลูกขนไก่ทีมชาติไทย
26 พฤษภาคม 2566
‘เครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์’ จับมือ ‘ปันกัน’ ร่วมรับบริจาคสิ่งของผ่านรพ.ในเครือ ปี 2
‘เครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์’ จับมือ ‘ปันกัน’ ร่วมรับบริจาคสิ่งของผ่านรพ.ในเครือ ปี 2
25 พฤษภาคม 2566
PRINC ชวนผู้ประกอบการมาเป็นแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันในทุกรูปแบบ
บมจ.พริ้นซิเพิล แคปิตอล หรือ PRINC ขอเชิญชวนผู้ประกอบการ คู่ค้า พันธมิตร ในเครือข่าย มาเป็นแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันภาคเอกชนไทย (COLLECTIVE ACTION AGAINST หรือ CAC)
24 พฤษภาคม 2566
โรงพยาบาล พริ้นซ์ สกลนคร ในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ และ บมจ.พริ้นซิเพิล แคปิตอล จำกัด (มหาชน) หรือ PRINC ได้จัดกิจกรรมอบรมการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (BLS) และการใช้เครื่องกระตุกไฟฟ้า (AED)
วันที่ 19 พฤษภาคม 2566 โรงพยาบาล พริ้นซ์ สกลนคร ในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ และ บมจ.พริ้นซิเพิล แคปิตอล จำกัด (มหาชน) หรือ PRINC ได้จัดกิจกรรมอบรมการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (BLS) และการใช้เครื่องกระตุกไฟฟ้า (AED) โดยมีผู้เข้ารับการอบรมทั้งหมด 48 ท่าน