Header

mark

‘มะเร็งต่อมลูกหมาก’ มะเร็งอันดับ 4 ของชายไทย อย่ามองข้าม ตรวจพบไว รักษาหาย ใช้ชีวิตได้ปกติ

28 มีนาคม 2567

avatar เขียนโดย : นพ.สานิต แซ่ลิ้ม, รพ.พิษณุเวช

blog

‘มะเร็งต่อมลูกหมาก’ อาจเป็นชื่อโรคคุ้นหู ที่หลายคนรู้จัก แต่ไม่ได้ให้ความสนใจ ไม่รู้ว่าโรคดังกล่าวเกิดจากอะไร และมีอาการอย่างไร แต่รู้หรือไม่? มะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นอีกหนึ่งภัยเงียบใกล้ตัว ที่ผู้ชายทุกคนไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้สูงอายุ โดยวันนี้ เครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ จะมาแบ่งปันเนื้อหาสาระดี ๆ เกี่ยวกับอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากมะเร็งต่อมลูกหมาก ให้ทุกคนได้ทราบกัน

โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก คืออะไร มีสาเหตุมาจากอะไร?

‘มะเร็งต่อมลูกหมาก’ คือเซลล์เนื้องอกผิดปกติที่เกิดในต่อมลูกหมาก ซึ่งเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่เป็นหูรูดควบคุมการปัสสาวะ และสร้างน้ำเลี้ยงตัวอสุจิในเพศชาย โดยมาก มักพบในผู้สูงอายุมากกว่า 50 ปี โดยปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรค ได้แก่ อายุและพันธุกรรม

 

มะเร็งต่อมลูกหมาก ถูกวินิจฉัยพบมากเป็นอันดับ 4 ของมะเร็งที่พบทั้งหมดในเพศชาย โดยจากข้อมูลทะเบียนมะเร็งประเทศไทยโดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่า มีผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากรายใหม่วันละ 10 ราย หรือ 3,755 ราย/ปี และเสียชีวิตจากโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก วันละ 5 ราย หรือ 1,654 ราย/ปี (อ้างอิง: กรมการแพทย์; ข้อมูล ณ วันที่ 20 ธันวาคม 2565)

มะเร็งต่อมลูกหมาก จะไม่มีอาการแสดงใด ๆ ในระยะแรก โดยมากผู้ป่วยมักเข้ามารับการรักษา เมื่อมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะ

 

มะเร็งต่อมลูกหมาก มีอาการอย่างไร ?

มะเร็งต่อมลูกหมาก จะไม่มีอาการแสดงใด ๆ ในระยะแรก โดยมากผู้ป่วยมักเข้ามารับการรักษา เมื่อมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น พบก้อนเนื้อมะเร็งกดเบียดท่อปัสสาวะ ทำให้มีปัญหาปัสสาวะลำบาก จำเป็นต้องเบ่ง ปัสสาวะมีเลือดปน หรือมีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะเรื้อรัง เป็นต้น

 

ทั้งนี้ ความรุนแรงของตัวโรค อาจลุกลามไปที่ต่อมน้ำเหลือง กดเบียดอวัยวะข้างเคียง กดเบียดท่อปัสสาวะเป็นเหตุให้ปัสสาวะเป็นเลือด หรือปัสสาวะไม่ออก มีการลุกลามไปที่กระดูก ปวดกระดูกรุนแรง มีการหักของกระดูกสันหลัง เกิดเส้นประสาทกดทับจนเดินไม่ได้ และมีการลุกลามไปอวัยวะภายในอื่น ๆ ได้

ความรุนแรงของตัวโรค อาจลุกลามไปที่ต่อมน้ำเหลือง

 

มะเร็งต่อมลูกหมาก รักษาได้อย่างไร ?

  • หากตรวจพบในระยะแรก: สามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยการผ่าตัดเอาต่อมลูกหมากและต่อมน้ำเหลืองในอุ้งเชิงกรานออก โดยการรักษาในปัจจุบันมีความก้าวหน้ามาก สามารถผ่าตัดส่องกล้องแผลเล็ก หรือใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด ซึ่งผู้ป่วยฟื้นตัวได้ไวมากขึ้น และเสียเลือดน้อยลง ในกรณีที่ผู้ป่วยมีความเสี่ยงในการผ่าตัด หรือไม่ต้องการผ่าตัด อาจเลือกใช้วิธีการฉายแสง ซึ่งในระยะต้น ๆ อาจทำให้หายขาดได้เช่นกัน
  • หากอาการลุกลามไปที่กระดูก: สามารถลดความเจ็บปวดได้ ด้วยการรักษาโดยการลดฮอร์โมนเพศชาย เนื่องจากมะเร็งมีการกระตุ้นและโตขึ้นจากฮอร์โมน Testosterone การฉีดยาลดฮอร์โมน หรือผ่าตัดเอาอัณฑะออก ทำให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้นได้ หรือการรักษาด้วยเคมีบำบัดเป็นการให้ยาทางเส้นเลือดเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง มักใช้ในกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาข้างต้น หรือมีการกระจายไปที่อวัยวะอื่น ๆ ผลข้างเคียงในการรักษาจะมีมากกว่าวิธีการอื่น ๆ

การรับประทานมะเขือเทศ สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากได้

 

มะเร็งต่อมลูกหมาก ป้องกันได้อย่างไร ?

การรับประทาน Lycopene ซึ่งเป็นสารที่พบในมะเขือเทศ ปริมาณอย่างน้อย 10 - 30 มิลลิกรัม/วัน สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากได้ แต่ที่สำคัญคือการดูแลรักษาสุขภาพอย่างต่อเนื่อง

มะเร็งต่อมลูกหมาก ตรวจพบไว รักษาหาย ใช้ชีวิตได้ปกติ

การตรวจวินิจฉัย สามารถทำได้โดยเจาะตรวจชิ้นเนื้อต่อมลูกหมากทางทวารหนัก ตรวจเอ็กซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ตรวจการลุกลามกระดูกด้วยสารนิวเคลียร์ เพื่อใช้วางแผนในการรักษา โดย ผู้ชายที่อายุมากกว่า 50 ปี ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง

 

บทความโดย : นพ.สานิต แซ่ลิ้ม, รพ.พิษณุเวช,ต.ค.66

บทความสุขภาพอื่น ๆ

บทความทางการแพทย์

ปอดอุดกั้นเรื้อรัง เกิดมาจากการอักเสบหรือเสียหายของ หลอดลม เนื้อปอด และหลอดเลือดปอด

28 มีนาคม 2567

‘ปอดอุดกั้นเรื้อรัง’ รักษาหายขาดไม่ได้ แต่ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต ช่วยป้องกัน-ฟื้นฟูได้

‘โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง’ เป็นอีกหนึ่งกลุ่มของโรคปอดอักเสบเรื้อรังที่ถูกตรวจวินิจฉัยพบได้บ่อย และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของประชากรทั่วโลก

ข่าวสุขภาพ

กรมการแพทย์ แนะ วิธีการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากฝุ่น PM2.5

ฝุ่นละออง PM2.5 ที่มีค่าเกินมาตรฐาน เป็นมลพิษทางอากาศที่อันตรายต่อสุขภาพของเรา เนื่องด้วย PM2.5 เป็นฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า

บทความทางการแพทย์

ไข้หวัดใหญ่ ต่างจากไข้หวัดธรรมดายังไง

26 มีนาคม 2567

ไข้หวัดใหญ่ อาการเป็นยังไง ต่างจากไข้หวัดธรรมดายังไง อันตรายกว่าที่คิด

ไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคประจำฤดูกาลที่มักกลับมาระบาดในช่วงฤดูฝน และฤดูหนาวของทุกปี แม้ว่าไข้หวัดใหญ่ จะเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายได้ แต่ก็คงจะดีกว่า ถ้าหากเราป้องกันการป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ตั้งแต่แรก