Header

mark

‘ปอดอุดกั้นเรื้อรัง’ รักษาหายขาดไม่ได้ แต่ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต ช่วยป้องกัน-ฟื้นฟูได้

28 มีนาคม 2567

avatar เขียนโดย : นพ.เฉลิมพล รัตนอุดมวรรณา, รพ.พิษณุเวช

blog

‘โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง’ เป็นอีกหนึ่งกลุ่มของโรคปอดอักเสบเรื้อรังที่ถูกตรวจวินิจฉัยพบได้บ่อย และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของประชากรทั่วโลก แต่อย่างไรก็ตาม โรคดังกล่าว ยังไม่เป็นที่ตระหนักในวงกว้างในสังคมไทย วันนี้ เครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ จึงอยากจะมาแบ่งปันเนื้อหาสาระดี ๆ เกี่ยวกับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ให้ทุกคนได้ทราบกัน

ปอดอุดกั้นเรื้อรัง คืออะไร ?

ปอดอุดกั้นเรื้อรัง เกิดมาจากการอักเสบหรือเสียหายของ หลอดลม เนื้อปอด และหลอดเลือดปอด อันเนื่องมาจากการสูดดมแก๊สหรือสารที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อเนื่องเป็นเวลานาน ส่งผลให้หลอดลมค่อย ๆ ตีบลง หรือถูกอุดกั้น โดยไม่อาจฟื้นคืนสู่สภาพปกติได้อีก โดยกลุ่มโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง สามารถแยกออกได้เป็นโรคย่อย ๆ ได้แก่ โรคถุงลมโป่งพอง และโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ซึ่งเป็นสองโรคที่มักถูกตรวจวินิจฉัยพบร่วมกัน ตลอดจนโรคหอบหืด และโรคหลอดลมพอง

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของประชากรทั่วโลก

 

ปอดอุดกั้นเรื้อรัง มีอาการอย่างไร ?

ผู้ป่วยมักไม่มีอาการแสดงในระยะเริ่มแรกของโรค แต่จะเริ่มมีอาการที่สังเกตได้ เมื่อปอดถูกทำลายมากขึ้น โดยอาการที่เป็นสัญญาณของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ได้แก่:

  • อาการไอเรื้อรัง อาจรุนแรงถึงขั้น ไอเป็นเลือด
  • มีเสมหะมาก โดยเฉพาะในช่วงเช้าหลังตื่นนอน
  • รู้สึกเหนื่อยหอบ หมดเรี่ยวแรง
  • หายใจลำบาก หายใจมีเสียงหวีด แน่นหรือเจ็บหน้าอก
  • ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจบ่อย ๆ
  • อาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ปากและเล็บเปลี่ยนเป็นสีม่วง

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง สามารถป้องกันได้ด้วยการไม่สูบบุหรี่

 

เมื่ออาการของโรครุนแรงขึ้น ผู้ป่วยจะมีน้ำหนักที่ลดลงอย่างมาก มีอาการเหนื่อยหอบมากจนไม่สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตามปกติ และในระยะท้ายของโรค มักพบการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ภาวะหายใจวาย และหัวใจด้านขวาล้มเหลว

ปอดอุดกั้นเรื้อรัง รักษาได้อย่างไร ?

‘โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้’

 

อย่างไรก็ตาม เราสามารถชะลอการดำเนินโรค บรรเทาอาการของโรค ตลอดจนป้องกันและรักษาภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้ โดยวิธีที่ช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ขึ้น ได้แก่:

  • เลิกสูบบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงมลพิษในอากาศ
  • รักษาด้วยยา เพื่อบรรเทาอาการ ลดการกำเริบ และเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วย ได้แก่ ยาขยายหลอดลม ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดสูด และยาปฏิชีวนะ เพื่อลดอาการติดเชื้อ
  • การรักษาด้วยวิธีการอื่น ๆ เช่น การบำบัดด้วยออกซิเจนระยะยาว การฟื้นฟูสมรรถภาพปอดด้วยกายภาพบำบัด การดูแลโภชนาการ และการดูแลสภาพอารมณ์และจิตใจของผู้ป่วย
  • การผ่าตัด ในกรณีที่การรักษาด้วยยาและวิธีอื่น ๆ ไม่ได้ผล

ปรับพฤติกรรม ป้องกันโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้

‘โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง’ สามารถป้องกันได้ด้วยการไม่สูบบุหรี่ เลี่ยงการสูดดมควันบุหรี่มือสอง ตลอดจนป้องกันตัวเองจากมลพิษในอากาศและละอองสารเคมีต่าง ๆ และการตรวจสุขภาพปอดอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง

 

บทความโดย : นพ.เฉลิมพล รัตนอุดมวรรณา, รพ.พิษณุเวช

ข้อมูล ณ ต.ค.66

บทความสุขภาพอื่น ๆ

บทความประชาสัมพันธ์

Healthcare Ecommerce  สู่ธุรกิจสุขภาพ
Healthcare Ecommerce เข้าสู่การปรับตัวของธุรกิจสุขภาพผ่านช่องทางออนไลน์

ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การซื้อขายผ่านช่องทางออนไลน์หรืออีคอมเมิร์ซ (Ecommerce) ได้กลายเป็นส่วนสำคัญของชีวิตประจำวัน และอุตสาหกรรมหนึ่งที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วคือ Healthcare Ecommerce หรือการบริการและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพผ่านช่องทางออนไลน์ ทั้งนี้เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภคที่มองหาความสะดวกสบายและการเข้าถึงบริการสุขภาพที่รวดเร็วและปลอดภัย

ข่าวสุขภาพ

กรมการแพทย์ แนะ วิธีการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากฝุ่น PM2.5

ฝุ่นละออง PM2.5 ที่มีค่าเกินมาตรฐาน เป็นมลพิษทางอากาศที่อันตรายต่อสุขภาพของเรา เนื่องด้วย PM2.5 เป็นฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า

บทความทางการแพทย์

โรคซึมเศร้า คือ โรคทางจิตเวชซึ่งเกิดจากความผิดปกติของสมอง

26 มีนาคม 2567

โรคซึมเศร้า (Depression) รู้และเข้าใจ โรคทางจิตเวชใกล้ตัวที่เราวินิจฉัยด้วยตัวเองได้ รู้ก่อน รับการรักษาได้ก่อน

โรคซึมเศร้า (Depression) เป็นโรคทางจิตเวชซึ่งเกิดจากความผิดปกติของสมอง ในส่วนที่มีผลกระทบต่อความคิด อารมณ์ ความรู้สึก พฤติกรรม รวมถึงสุขภาพทางกาย