Header

mark

โรคจอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุ รู้จักสัญญาณเตือนก่อนเสียการมองเห็น

28 มีนาคม 2567

avatar เขียนโดย : นพ.ศุภราช เลาหพิทักษ์วร, จักษุแพทย์เฉาพะทาง, รพ.พริ้นซ์ อุบลราชธานี

blog

เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น อวัยวะต่าง ๆ ก็เริ่มเสื่อมถอยตามกาลเวลา โดยเฉพาะ “ดวงตา” เป็นอวัยวะที่ใช้งานอย่างหนักและจำเป็นสำหรับการใช้ชีวิตของเราทุกคน โรคพบได้บ่อยในวัยผู้สูงอายุ คือ “โรคจอประสาทตาเสื่อม (Age-Related Macular Degeneration: AMD)” โรคนี้ในระยะแรกผู้ป่วยมักจะไม่แสดงอาการสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ จนหลายคนชะล่าใจ และทำให้มารักษาล่าช้า ดังนั้นเมื่อสงสัยว่าตนเองมีปัญหาเกี่ยวข้องกับดวงตาจึงควรพบจักษุแพทย์ตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อทำการตรวจ วินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที ซึ่งสามารถลดโอกาสการสูญเสียการมองเห็นในอนาคตได้

 

โรคประสาทตาเสื่อมคืออะไร ?

โรคจอประสาทตาเสื่อม เป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมถอยของร่างกายตามอายุ มีการสะสมของเสียในดวงตา (drusen) เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ บริเวณกลางจอประสาทตารวมถึงจุดรับภาพชัด ทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสสูญเสียการมองเห็นโดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณตรงกลางของภาพ (ตรงกลางลานสายตา) แต่ส่วนบริเวณด้านข้างของการมองเห็นจะยังคงดีอยู่ 

ในปัจจุบันนี้ได้มีการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวข้องกับโรคจอประสาทตาเสื่อมนี้เป็นอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตามโรคจอประสาทตาเสื่อมนี้ยังเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาด แต่สามารถทำให้การดำเนินของโรคช้าลงได้  จากการศึกษาวิจัยพบว่าผู้ป่วยคนไทยที่อายุมากกว่า 50 ปี พบโรคนี้มากถึงร้อยละ 12 และมากกว่าครึ่งหนึ่งตรวจเจอโรคจอประสาทตาเสื่อมทั้งสองข้างอีกด้วย

โรคจอประสาทตาเสื่อม เป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมถอยของร่างกายตามอายุ มีการสะสมของเสียในดวงตาเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ

 

ประเภทของโรคจอประสาทตาเสื่อมมี 2 ชนิด คือ

แบบที่ 1 แบบแห้ง (Dry AMD) หรือแบบเสื่อมช้า  เป็นชนิดที่พบได้มากที่สุด  โดยเซลล์จอประสาทตาจะค่อย ๆ เสื่อมไปอย่างช้า ๆ การมองเห็นจะค่อย ๆ ลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น 

แบบที่ 2  แบบเปียก (Wet AMD) หรือแบบเร็ว พบร้อยละ 10-15 ของโรคจอประสาทตาเสื่อม โดยจะเกิดการสูญเสียการมองเห็นอย่างรวดเร็ว อันเกิดจากเส้นเลือดงอกใหม่ที่ผิดปกติและจอประสาทตาบวม รวมถึงมีเลือดออกที่จอประสาทตาร่วมได้

โรคนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ แบบแห้ง กับ แบบเปียก


 

ปัจจัยเรื่องของโรคจอประสาทตาเสื่อมคืออะไร ?

มีปัจจัยเสี่ยงหลายด้านที่ส่งผลต่อการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมตามอายุ (Aged related macular degeneration) ได้แก่

  • อายุ เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด สามารถพบโรคนี้ได้ในคนที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป จากการศึกษาวิจัยพบว่าหากอายุ 75 ปีขึ้นไปมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้มากกว่า 3 เท่าเมื่อเทียบกับช่วงอายุ 65-74 ปี
  • พันธุกรรม มีความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของคนที่เป็นโรคกับญาติสายตรง ผู้เกี่ยวข้องควรได้รับการตรวจจอประสาทตาทุก ๆ 1 ปี
  • การสูบบุหรี่ มีหลักฐานยืนยันพบว่า การสูบบุหรี่เป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอย่างชัดเจน
  • โรคความดันเลือดสูง 
  • โรคไขมันในเลือดสูง
  • ปัจจัยอื่น ๆ เช่น เพศหญิง มีภาวะอ้วน คนผิวขาว คนสายตายาว เป็นต้น

 

อาการของโรคประสาทตาเสื่อมเป็นอย่างไร ?

  1. มองเห็นภาพจากแนวตรงเป็นลักษณะบิดเบี้ยวโค้งงอหรือเส้นขาดหาย
  2. มองไม่เห็นส่วนกลางของภาพ
  3. มองภาพหรืออ่านหนังสือที่ต้องใช้งานละเอียดยากกว่าปกติ
  4. การมองภาพต้องใช้แสงเพิ่มขึ้น
  5. มีจุดดำหรือจุดบอดบริเวณศูนย์กลางของภาพที่มองเห็น ทำให้มองเห็นใบหน้าของคนลำบาก

อายุ เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด สามารถพบโรคนี้ได้ในคนที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป

 

การรักษาโรคประสาทตาเสื่อมทำได้อย่างไรบ้าง ?

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคนี้ให้หายขาด แต่สามารถชะลอให้การดำเนินของโรคจอประสาทตาเสื่อมช้าที่สุด โดยมีวิธีการรักษาดังนี้

  1. ควบคุมปัจจัยเสี่ยง เช่น การงดสูบบุหรี่ รักษาโรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง
  2. หากพบว่ามีคนในครอบครัวเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อม แนะนำให้ ญาติมาตรวจตาคัดกรองกับจักษุแพทย์ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  3. การรับประทานยาชนิดพิเศษ เพื่อชะลอการเสื่อมของจอประสาทตาได้
  4. การยิงเลเซอร์ เพื่อทำลายเส้นเลือดงอกใหม่ที่ผิดปกติ ยับยั้งการเกิดเลือดออกในลูกตาได้
  5. การฉีดสารยับยั้งการงอกของหลอดเลือดในลูกตา มีการศึกษาวิจัยพบว่าสามารถช่วยให้ระดับการมองเห็นดีขึ้นได้ในผู้ป่วยเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อมชนิดเปียกได้
  6. การผ่าตัดน้ำวุ้นตา

โรคประสาทตาเสื่อมส่วนใหญ่ เป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด แต่สามารถชะลอให้ตัวโรคดำเนินช้าลง หากเริ่มเข้าสู่วัยผู้สูงอายุควรเข้ารับการตรวจสุขภาพตาประจำปี เพื่อประเมินว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมหรือไม่ การตรวจคัดกรองดวงตาตั้งแต่เบื้องต้นจะช่วยให้ทำการรักษาได้ทันท่วงทีก่อนที่อาการจะรุนแรงและอาจสูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

ข้อมูล : ต.ค.66

บทความโดย : นพ.ศุภราช เลาหพิทักษ์วร, จักษุแพทย์เฉาพะทาง, รพ.พริ้นซ์ อุบลราชธานี

บทความสุขภาพอื่น ๆ

บทความทางการแพทย์

อาหารฤทธิ์เย็น ดับพิษร้อน ตามศาสตร์การแพทย์แผนไทยประยุกต์

ในช่วงเดือนมีนาคมเป็นต้นไป ประเทศไทยจะเข้าสู่ช่วงที่อุณหภูมิสูงที่สุดในรอบปี ซึ่งการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมินี้เอง มีส่วนทำให้ร่างกายของเราร้อนมากกว่าปกติ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอาการ หรือภาวะต่าง ๆ ตามมา นั่นจึงเป็นสาเหตุให้เราควรรักษาอุณหภูมิของร่างกาย เพื่อเลี่ยงอาการ หรือภาวะผิดปกติต่าง ๆ

บทความทางการแพทย์

ปอดอุดกั้นเรื้อรัง เกิดมาจากการอักเสบหรือเสียหายของ หลอดลม เนื้อปอด และหลอดเลือดปอด

28 มีนาคม 2567

‘ปอดอุดกั้นเรื้อรัง’ รักษาหายขาดไม่ได้ แต่ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต ช่วยป้องกัน-ฟื้นฟูได้

‘โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง’ เป็นอีกหนึ่งกลุ่มของโรคปอดอักเสบเรื้อรังที่ถูกตรวจวินิจฉัยพบได้บ่อย และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของประชากรทั่วโลก

บทความทางการแพทย์

วัณโรคภัยร้ายใกล้ตัว

07 พฤศจิกายน 2566

วัณโรค คืออะไร รักษายังไง ภัยร้ายใกล้ตัวที่คุกคามคุณภาพชีวิต

วัณโรคเป็นโรคที่สามารถแพร่กระจายได้ง่ายนับว่าเป็นกลุ่มโรคที่อันตรายร้ายแรงชนิดหนึ่งที่คร่าชีวิตมนุษย์ทั่วโลกเป็นจำนวนมาก เพราะเมื่อติดเชื้อจะมีผลต่อปอด หรือที่เรียกว่า "วัณโรคปอด"