Header

mark

กรมการแพทย์ แนะ วิธีการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากฝุ่น PM2.5

avatar เขียนโดย : กรมการแพทย์

blog

ข่าวสุขภาพ

ฝุ่นละออง PM2.5 ที่มีค่าเกินมาตรฐาน เป็นมลพิษทางอากาศที่อันตรายต่อสุขภาพของเรา เนื่องด้วย PM2.5 เป็นฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ลอยอยู่ในอากาศได้เป็นวันหรือเป็นอาทิตย์ สามารถเข้าสู่ร่างกายของเราได้ง่ายผ่านระบบทางเดินหายใจ หากได้รับฝุ่น PM2.5 อย่างต่อเนื่องหรือในปริมาณที่มาก จะส่งผลกระทบสะสมต่อสุขภาพของเราโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ โรคมะเร็งปอด โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหัวใจขาดเลือด เป็นต้น

อาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น

หากได้รับฝุ่น PM2.5 ฝุ่น PM2.5 สามารถเข้าสู่ร่างกายจากหลอดลมและเดินทางไปยังหลอดเลือด และกระจายไปส่วนต่าง ๆ ทั่วร่างกาย หากร่างกายได้รับฝุ่นนี้เป็นเวลานานจนเกิดการสะสม จะทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ โดยผู้ที่ได้รับฝุ่น PM 2.5 มักมีอาการไอเรื้อรัง ระคายเคืองตา คัดจมูก แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก ผิวหนังเป็นตุ่มหรือผื่นนูนแดง เป็นต้น และกลุ่มเสี่ยงที่ควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ได้แก่ เด็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคปอดเรื้อรัง ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น

วิธีการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากฝุ่น PM2.5

  • สวมหน้ากาก N95 หรือหน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธี คือ คลุมจมูกลงมาถึงใต้คาง และต้องแนบสนิทกับใบหน้า เพื่อป้องกันฝุ่น
  • เลี่ยงกิจกรรมนอกบ้าน ในบริเวณที่มีค่ามลพิษอากาศสูง
  • หมั่นทำความสะอาดบ้าน เพื่อลดการสะสมของฝุ่นภายในบ้าน
  • เลี่ยงกิจกรรมที่ก่อให้เกิดฝุ่น PM2.5 เช่น การเผาขยะ การเผาหญ้า การจอดรถติดเครื่องยนต์ไว้เป็นระยะเวลานาน และตรวจเช็คสภาพรถยนต์ให้อยู่ในสภาวะปกติ ไม่ก่อควันดำ

หากพบอาการผิดปกติของร่างกาย ให้รีบพบแพทย์ หากพบว่าตนเองมีอาการผิดปกติของร่างกาย เช่น ไอ เหนื่อย แน่นหน้าอก ควรปรึกษาแพทย์ทันที และที่สำคัญ ควรติดตามข้อมูลข่าวสารด้านมลพิษทางอากาศเป็นประจำ เพื่อป้องกันฝุ่นละอองและความปลอดภัยต่อสุขภาพของตนเองอย่างเหมาะสม

อ้างอิง: กรมการแพทย์ (ข้อมูล ณ วันที่ 19 มกราคม 2566)

บทความสุขภาพอื่น ๆ

ข่าวสุขภาพ

กรมอนามัย แนะ เริ่มต้นป้องกัน “โรคมะเร็ง” ด้วยตนเอง เพียงปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต และตรวจคัดกรอง

โรคมะเร็ง เป็นโรคที่มีอัตราการเสียชีวิตเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศไทย ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว สาเหตุการเกิดโรคมะเร็งมาจาก “พฤติกรรมการใช้ชีวิต” ที่ไม่เหมาะสม ดังนั้น การเลี่ยงพฤติกรรมที่อาจนำไปสู่ความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง เป็นอีกหนึ่งวิธีการป้องกันโรคมะเร็งต้วยตนเองที่ดี

ข่าวสุขภาพ

กรมควบคุมโรค ย้ำ “กินหมูดิบ เสี่ยงหูดับ” แนะประชาชน กินอาหารปรุงสุก ถูกหลักอนามัย

“หูดับ” หรือ “โรคไข้หูดับ” อาจเป็นคำที่ถูกพูดถึงบ่อยครั้งในร้านหมูกระทะ หรือปิ้งย่างต่าง ๆ เวลามีใครสักคนใช้ตะเกียบคู่เดิม คีบหมูดิบไปปิ้ง และคีบมาใส่จานตัวเอง

ข่าวสุขภาพ

กรมการแพทย์ เตือน สัญญาณโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หากพบ ควรพบแพทย์ทันที อันตรายถึงชีวิต

ปัจจุบัน คนไทยเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันมากที่สุด เป็นอันดับ 3 รองจากอุบัติเหตุและโรคมะเร็ง โดยจากสถิติพบว่า มีคนไทยป่วยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเพิ่มขึ้น 21,700 ราย/ปี และมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ